การเรียนรู้ครั้งที่ 4

วันพุธที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2560

เนื้อหา/กิจกรรม

โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองในและต่างประเทศ
 โครงการ   แม่สอนลูก


   - ดำเนินการโดยกรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ
   - จัดสำหรับเด็กที่ด้อยโอกาส โดยให้มารดาเป็นผู้สอนเองที่บ้าน
   - ใช้วิธีการแนะนำให้รู้จักใช้ทักษะ รู้จักคิดและเรียนรู้มโนทัศน์ด้านต่างๆ
   - ใช้รูปแบบการทดลองสอนแม่เพื่อสอนลูกที่บ้าน โดยอาศัยรูปแบบโครงการการเยี่ยมบ้านของประเทศอิสราเอล
   - มารดามีความพอใจในกิจกรรม มีความรู้ความเข้าใจและสามารถส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆเพิ่มขึ้น
   - เนื้อหากิจกรรมในโปรแกรมนี้ เป็นกิจกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูก

โครงการ แม่สอนลูก
   - ดำเนินการโดยศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จ.อุบลราชธานี
   - เป็นโครงการทดลองหารูปแบบในการให้ความรู้แก่กลุ่มสตรีแม่บ้านในชุมชน ได้นำแนวทางของโปรงแกรม Hippy Program ของประเทศอิสราเอล
   - เน้นให้ผู้ปกครองมีความพร้อมก่อนส่งลูกเข้าเรียน แม่จะส่งเสริมเด็กด้านต่างๆ เช่น ภาษา การพัฒนากล้ามเนื้อ และสติปัญญา
   - มีการบันทึกผลและการปฏิบัติรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของแม่และลูก

การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองในการอบรมเลี้ยงดูเด็กต่ำกว่า 3 ปี ผ่านโรงพยาบาลชุมชนและสถานีอนามัย
   เป็นโครงการภายใต้งานวิจัยของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เกิดจากความต้องการให้ครอบครัวเป็นหลักของการพัฒนาเด็กในช่วงอายุต่ำกว่า ปี ด้วยการให้พ่อแม่ ผู้ปกครองเป็นผู้เลี้ยงดูที่มีคุณภาพ โดยใช้รูปแบบการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ประกอบด้วย 4 รูปแบบ คือ
   - วิธีกระบวนการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วม
   - วิธีการสนทนากลุ่ม
   - วิธีอภิปรายกลุ่ม
   - วิธีการบรรยาย

โครงการ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กไทย
   ดำเนินงานโดยสำนักสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต เป็นโครงการที่มุ่งเร่งพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กและเยาวชนไทย โดยผลักดันให้ครอบครัวมีส่วนร่วมที่สำคัญ ด้วยการจัดทำชุดองค์ความรู้และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กและเยาวชนไทย เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองสามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้จริง ประกอบด้วย
   - แบบสังเกตความคิดสร้างสรรค์ในเด็กสำหรับพ่อแม่
   - คู่มือความรู้และการจัดกิจกรรมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
   - หลักสูตรการเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์
   - ซีดีการเรียนรู้ด้วยตนเองเรื่อง  “การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์”
   - จัดอบรมพ่อแม่ผู้ปกครองเรื่อง  “การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์”

โครงการ บุ๊คสตาร์ทในประเทศอังกฤษ (Bookstart UK)
   โครงการ บุ๊คสตาร์ท หรือเรียกว่า “หนังสือเล่มแรก” ก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2535 โดย นางเวนดี้ คูลลิ่ง ภายใต้ บุ๊คทรัสต์ ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลที่มีจุดมุ่งหมายในการนำหนังสือสู่คน นำคนสู่หนังสือ
   นับเป็นโครงการแรกของโลกที่ว่าด้วยหนังสือสำหรับเด็กทารก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เด็กทารกในอังกฤษทุกคนได้รับโอกาสและสนับสนุนให้พัฒนาความรู้สึกรักหนังสือและการอ่านไปตลอดชีวิต ด้วยการจัดสรรให้เด็กทารกทุกคนได้รับ “ถุงบุ๊คสตาร์ท”
   “ถุงบุ๊คสตาร์ท
     ภายในถุงประกอบด้วย
     -หนังสือที่ได้รับการคัดสรรแล้ว เล่ม
     -หนังสือแนะนำพ่อแม่ด้วยภาพเกี่ยวกับการเลี้ยงดูเด็กและโยงไปถึงการเลี้ยงดูด้วยหนังสือ
     -ของชำร่วยสำหรับเด็ก เช่น ผ้ารองจานฯลฯ
     -แผนที่แนะนำห้องสมุดแถวละแวกบ้าน
     -บัตรสมาชิกห้องสมุดสำหรับเด็ก
     -รายชื่อหนังสือสำหรับเด็ก
     -รายชื่อศูนย์สนับสนุนคุณแม่เลี้ยงลูก


คำถามท้ายบท
1. ในการดำเนินโครงการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองทั้งในและต่างประเทศมีเป้าหมาย
ร่วมกันอย่างไร

  • เพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาปฐมวัยให้ไปในทิศทางเดียวกัน

2. นักศึกษามีแนวคิดอย่างไรที่จะสนับสนุนให้โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองประสบผลสำเร็จ
อย่างเป็นรูปธรรม จงอธิบาย

  • วางแผนงานให้เป็นขันตอนและทำตามแผนงานที่วางไว้ คือ นำความรู้ในเรื่องโครงการต่าง ๆ ที่เป็รประโยชน์ต่อตัวเด็กและผู้ปกครอง มาวางแผนว่าเราจะจัดอย่างไร มีเป้าหมายอย่างไร และเราก็ดำเนินตามแผนที่วางไว้


3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นผู้ที่ให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในอนาคตจงยตัวอย่างขององค์ความรู้หรือเรื่องที่ต้องการจะถ่ายทอดให้กับพ่อแม่ผู้ปกครองเพื่อใช้ในการเลี้ยงดูเด็ก มา 5 เรื่องพร้อมอธิบายและยกตัวอย่างประกอบ  

  • พัฒนาการของเด็กปฐมวัยทั้ง 4 ด้าน คือ เด็กในวันนี้มีพัฒนาการอย่างไรเราควรส่งเสริมอย่างไร
  • โภชนาการ คือ สารอาหารที่เด็กในวันนี้ควรได้รับ การทำเมนูง่าย ๆ แต่ได้สารอาหารที่ครบถ้วน
  • ศิลปะ คือ ให้คความรู้เรื่องศิลปะนั้นมันดีต่อพัฒนาการทางสติปัญญาของลูก ๆ อย่างไร
  • นิทาน คือ ให้ผู้ปกครองตระนักถึงความสำคัญของการเล่านิทานให้ลูก ๆ ฟัง เพราะนิทานจะเสริมส้รางพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน
  • ภาษาอังกฤษ คือ กิจกรรมที่ผู้ปกครองใช้เวลาว่างในการพูดคุยสื่อสารในช่วงเวลาสั้น ๆ เป็นคำศัพท์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

4. การให้ความรู้ผู้ปกครองสามารถส่งผลต่อพฤติกรรมเด็กหรือไม่อย่างไร  จงอธิบาย

  • การให้ความรู้ผู้ปกครองสามารถส่งผลต่อพฤติกรรมเด็ก เพราะ ผู้ปกครองจะรู้ว่า เด็กในแต่ละวัยเป็นอย่างไร และจะสามารถแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่เหลาะสมของเด็กในวัยนั้น ๆ ได้
5. นักศึกษาจะมีวิธีในการติดตามผลการให้ความรู้ผู้ปกครองอย่างไร จงอธิบาย

  • การพูดคุยกับผู้ปกครองอย่างเสมอ เช่น เมื่อผู้ปกครองมารับลูกที่โรงเรียนอาจมีการพูดคุยเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กหรืออาจติดต่อกันทางอินเทอร์เน็ต
         


การนำไปประยุกต์ใช้

     นำความรู้ที่ได้จากการให้การศึกษาผู้ปกครองไปใช้ในการให้ความรู้ผู้ปกครองอย่างถูกต้อง นำโครงการต่าง ๆ มาปรับ ใช้ในการเรียนการสอน

ประเมิน
ตัวเอง : ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน
เพื่อน : เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลาและตั้งใจฟัง
อาจารย์ : อาจารย์ยกตัวอย่างของโครงการต่าง ๆ พร้อมทั้งมีถุงบุ๊คสตาร์ทของไทยมาให้ดู











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ประวัติ นางสาวจุฑามาศ  ทนุวรรณ์ กำลังศึกษาอยู่ที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย บล็อ...